โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ



                                           วิวัฒนาการของดาวฤกษ์

                ดาวฤกษ์ทั้งหลายเกิดจากการยุบรวมตัวของ เนบิวลา หรือกล่าวได้อีกอย่างว่าเนบิวลาเป็นแหล่งกำเนิดของดาวฤกษ์ทุกประเภท แต่จุดจบของดาวฤกษ์จะต่างกัน ขึ้นอยู่กับมวลสาร

                วิวัฒนาการของดาวฤกษ์ที่มีมวลสารต่างๆกัน วาระสุดท้ายของดาวฤกษ์มวลสารมากกว่าดวงอาทิตย์มากๆจะเป็นหลุมดำมวลสารมากกว่าดวงอาทิตย์มาก จะกลายเป็นดาวนิวตรอน และวาระสุดท้ายดาวฤกษ์มวลสารน้อย เช่น ดวงอาทิตย์ จะกลายเป็นดาวแคระ

                ดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย เช่น ดวงอาทิตย์มีแสงสว่างไม่มากจะใช้เชื้อเพลิงในอัตราที่น้อย จึงมีชีวิตยาว และจบลงด้วยการไม่ระเบิด แต่จะกลายเป็นดาวแคระขาว สำหรับดาวฤกษ์ ที่มีมวลพอๆกับดวงอาทิตย์ จะมีช่วงชีวิตและการเปลี่ยนแปลงแบบเดียวกับดวงอาทิตย์

                ดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่ มีมวลมาก สว่างมากจะใช้เชื้อเพลิงอย่างสิ้นเปลืองในอัตราสูงมากจึงมีช่วงชีวิตสั้นกว่า และจบชีวิตด้วยการระเบิดอย่างรุนแรง

                จุดจบของดาวฤกษ์ที่มวลมาก คือการระเบิดอย่างรุนแรง ที่เรียกว่า ซูเปอร์โนวา (supernova) แรงโน้มถ่วง จะทำให้ดาวยุบตัวลงกลายเป็นดาวนิวตรอนหรือหลุมดำ ในขณะเดียวกันก็มีแรงสะท้อนที่ทำให้ส่วนภายนอกของดาวระเบิดเกิดธาตุหนักต่างๆ เช่น ยูเรนียม ทองคำ ฯลฯ ซึ่งถูกสาด กระจายออกสู่อวกาศกลายเป็นส่วนประกอบของเนบิวลารุ่นใหม่ และเป็นต้นกำเนิดของดาวฤกษ์รุ่นต่อไป เช่นระบบสุริยะก็เกิดจากเนบิวลารุ่นหลัง ดวงอาทิตย์และบริวารจึงมีธาตุต่างๆทุกชนิด เป็นองค์ประกอบ ดังนั้น เนบิวลา ดาวฤกษ์ การระเบิดของดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ โลกของเรา สารต่างๆและชีวิตบนโลก จึงมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง


    กำเนิดและวิวัฒนาการของดวงอาทิตย์

    ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยถึงปานกลางและอยู่ใกล้โลกที่สุด จึงเป็นดาวฤกษ์ที่นักดาราศาสตร์ศึกษามากที่สุด ดวงอาทิตย์เกิด จากการยุบรวมตัวของเนบิวลาเมื่อประมาณ 5,000 ล้านปีมาแล้ว และจะฉายแสงสว่างอยู่ในสภาพสมดุลเช่นทุกวันนี้ต่อไปอีกประมาณ 5,000 ล้านปี

           การยุบตัวของเนบิวลา เกิดจากแรงโน้มถ่วงของเนบิวลาเอง เมื่อแก๊สยุบตัวลง ความดันของแก๊สจะสูงขึ้น ผลที่ตามมาคือ อุณหภูมิของแก๊สจะสูงขึ้นด้วยนี่คือธรรมชาติของแก๊สในทุกสถานที่ ที่แก่นกลางของเนบิวลาที่ยุบตัวลงนี้ จะมีอุณหภูมิสูงกว่าที่ขอบนอก เมื่ออุณหภูมิแก่นกลางสูงมากขึ้นเป็นหลายแสนองศาเซลเซียส เรียกช่วงนี้ว่า ดาวฤกษ์เกิดก่อน (Protostar) เมื่อแรงโน้มถ่วงดึงให้แก๊สยุบตัวลงไปอีก ความดัน ณ แก่นกลางสูงขึ้น และอุณหภูมิก็สูงขึ้นเป็น 15 ล้านเคลวิน เป็นอุณหภูมิสูงมากพอที่จะเกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ (thermonuclear reaction) หลอมนิวเคลียสไฮโดรเจนเป็นนิวเคลียสฮีเลียม เมื่อเกิดความสมดุลระหว่างแรงโน้มถ่วงกับแรงดันของแก๊สร้อนทำให้ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่สมบูรณ์

         พลังงานของดวงอาทิตย์เกิดที่แก่นกลาง ซึ่งเป็นชั้นในที่สุดของดวงอาทิตย์ เป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิและความดันสูงมาก ทำให้เกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ ที่แก่นกลาง ของดวงอาทิตย์ ซึ่งเกิดจากโปรตอนหรือนิวเคลียสของธาตุไฮโดรเจน 4 นิวเคลียสหลอมไปเป็นนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม 1 นิวเคลียส พร้อมกับเกิดพลังงานจำนวนมหาศาล

         จากการเกิดปฏิกิรยาพบว่า มวลที่หายไปนั้นเปลี่ยนไปเป็นพลังงาน ซึ่งสามารถคำนวณได้จากสูตร ความสัมพันธ์ระหว่างมวล (m) และพลังงาน (E) ของไอน์สไตน์ (  E = mc2) เมื่อ C คืออัตราความเร็วของแสงสว่างในอวกาศซึงเท่ากับ 300,000 กิโลเมตร/วินาที

         นักวิทยาศาสตร์คาดคะเนว่า ในอนาคตเมื่อธาตุไฮโดรเจนที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงเหลือน้อย แรงโน้มถ่วงเนื่องจากมวลของดาวฤกษ์สูงกว่าแรงดัน ทำให้ดาวยุบตัวลง ส่งผลให้แก่นกลางของดาวฤกษ์มีอุณหภูมิสูงขึ้นมากกว่าเดิมเป็น 100 ล้านเคลวิน จนเกิด ปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์หลอมรวมนิวเคลียสของธาตุฮีเลียมเป็นนิวเคลียสของคาร์บอน ในขณะเดียวกันไฮโดรเจนที่อยู่รอบนอกแก่นฮีเลียม จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นตามไปด้วย เมื่ออุณหภูมิสูงขถึง 15 ล้านเคลวิน จะเกิดปฏิกิริยาเท อร์โมนิวเคลียร์หลอมไฮโดรเจนเป็นฮีเลียมครั้งใหม่ ผลก็คือ ได้พลังงานออกมาอย่างมหาศาล ทำให้ดวงอาทิตย์มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 100 เท่า ของขนาดปัจจุบัน เมื่อผิวด้านนอกขยายตัว อุณหภูมิผิวจะลดลง สีจะเปลี่ยนจากเหลืองเป็นแดง ดวงอาทิตย์จึงกลายเป็นดาวฤ กษ์สีแดงขนาดใหญ่มาก เรียกว่า ดาวยักษ์แดง (redgiant)เป็นช่วงที่พลังงานถูกปลดปล่อยออกจากดวงอาทิตย์ในอัตราสูงมาก ดวงอาทิตย์จึงมีช่วงชีวิตเป็นดาวยักษ์แดงค่อนข้างสั้น

     

    โชติมาตรดาวฤกษ์

            ความส่องสว่าง (Brightness) เป็นพลังงานที่ดาวฤกษ์ปลดปล่อยออกมาต่อหน่วยเวลา มีหน่วยเป็นวัตต์/ตารางเมตร แต่เนื่องจากดวงตาของมนุษย์ไม่มีความละเอียดพอที่จะจำแนกพลังงานในระดับนี้ได้ นักดาราศาสตร์จึงกำหนดค่าเปรียบเทียบอันดับความสว่างของดาวซึ่งเรียกว่า "โชติมาตร" (Magnitude) เมื่อเรากล่าวถึงโขติมาตรโดยทั่วไปเราหมายถึง "โชติมาตรปรากฏ" (Apparent magnitude)  ซึ่งหมายถึงการจัดอันดับความสว่างของดาวบนท้องฟ้าซึ่งมองเห็นจากโลก 

            เมื่อสองร้อยปีก่อนคริสตกาล ฮิปปาคัส (Hipparchus) นักปราชญ์ชาวกรีกได้กำหนดอันดับความสว่างของดาว โดยถือว่า ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้ามีโชติมาตร ดาวที่สว่างเป็นครึ่งหนึ่งของอันดับแรกเป็นโชติมาตร 2  ไล่ลงมาเช่นนี้จนถึงโชติมาตร ซึ่งเป็นดาวที่สว่างน้อยที่สุดที่สามารถมองเห็นได้  ต่อมาในคริสตศตวรรษที่ 19 นักดาราศาสตร์กำหนดให้ ดาวโชติมาตร 1 สว่างเป็น 100 เท่า ของดาวโชติมาตร 6  ดังนั้นความสว่างของแต่ละโชติมาตรจะแตกต่างกัน 2.512 เท่า เนื่องจาก (2.512)5 เท่ากับ 100 ดังตารางที่ 1  ทั้งนี้

    สามารถคำนวณความแตกต่างระหว่าง

    โชติมาตร

     โดยใช้สูตรเปรียบเทียบความส่องสว่างดังนี้ 

     

                                m2 – m1  = 2.5 log (b1/b2) 

     

                โดยที่    m1, m2   = โชติมาตรปรากฏของดาวดวงที่ 1 และดวงที่ 2 

                             b1, b2   = ความสว่างปรากฏของดาวดวงที่ 1 และดวงที่ 2

     ตารางที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างโชติมาตรปรากฎ และความสว่างปรากฏ

     ความแตกต่างของโชติมาตรปรากฏ
    m1 - m2

    อัตราส่วนของความสว่างปรากฏ
    (b1/b2)

    1
    2
    3
    4
    5
    10
    15
    20

     2.512
    (2.512)^2 = 6.31
    (2.512)^3 = 15.83
    (2.512)^4 = 39.82
    (2.512)^5 = 100
    (2.512)^6 = 10,000
    (2.512)^7 = 1,000,000
    (2.512)^8 = 100,000,000

              เราสามารถคำนวณอย่างง่ายๆ เพื่อเปรียบเทียบความสว่างของดาวได้ เช่น ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้ามีโชติมาตร -4 ขณะที่ดาวที่สว่างน้อยที่สุดที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่ามีโชติมาตร 6  ดาวทั้งสองมีโชติมาตรแตกต่างกัน 6 - (-4) = 10 พิจารณาจากตารางที่ 1 พบว่า มีความสว่างแตกต่างกัน 10,000 เท่า จะสังเกตได้ว่า ดาวที่สว่างมากมีโชติมาตรน้อย ส่วนดาวที่สว่างน้อยมีโชติมาตรมาก ดังนั้นวัตถุที่สว่างมาก เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวศุกร์ จึงมีโชติมาตรปรากฏติดลบ ดังตัวอย่างในตารางที่ 2

    ตารางที่ 2 ตัวอย่างลำดับโชติมาตรปรากฏของวัตถุท้องฟ้า

     โขติมาตรปรากฏ

    วัตถุท้องฟ้า

     -26.5
    -12
    -4
    -1.5
    6
    10
    15
    20
    25

     ดวงอาทิตย์
    ดวงจันทร์เต็มดวง
    ดาวศุกร์ ดาวเคราะห์ที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้า
    ดาวซิริอุส ดาวเคราะห์ที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้า
    ดาวฤกษ์ที่สว่างน้อยที่สุดที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
    ดาวฤกษ์ที่สว่างน้องที่สุดที่มองเห็นได้ด้วยกล้องส่องทางไกล
    ดาวพลูโต
    วัตถุที่สว่างน้อยที่สุดที่มองเห็นได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์
    วัตถุที่สว่างน้อยที่สุดที่ถ่ายภาพได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์

             ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า เมื่อกล่าวถึงโชติมาตรโดยทั่วไป เราหมายถึงโชติมาตรปรากฏ ซึ่งเป็นการแสดงอันดับความสว่างซึ่งสังเกตการณ์จากโลก  ในการศึกษาทางดาราศาสตร์ต้องการเปรียบเทียบพลังงานที่แท้จริงของดาวแต่ละดวงจึงใช้ค่า "โชติมาตรสัมบูรณ์" (Absolute Magnitude) ซึ่งสมมติว่า ถ้าดาวอยู่ห่างจากโลก 10 พาร์เซค (พาร์เซค = 3.26 ปีแสง) จะมีโชติมาตรเท่าไร เช่น ดวงอาทิตย์มีโชติมาตรปรากฏ -26.5 แต่ถ้าเราอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 10 พาร์เซค ดวงอาทิตย์จะมีโชติมาตรปรากฏเพียง +4.6  ดังนั้นเมื่อเราอยู่บนโลกเราจึงกล่าวได้ว่า ดวงอาทิตย์ก็จะมีโชติมาตรสัมบูรณ์ +4.6  ทั้งนี้เราสามารถคำนวณหาโชติมาตรสัมบูรณ์โดยใช้สูตร          

                      m – M = 5 log d – 5 

            โดยที่     m = โชติมาตรปรากฏ
                        M = โชติมาตรสัมบูรณ์
                         d = ระยะห่างระหว่างโลกกับดาว มีหน่วยเป็น พาร์เซก

    ตัวอย่างที่ ดาวหัวใจสิงห์ (Regulus) อยู่ห่างจากโลก 25 พาร์เซก มีโชติมาตรปรากฏ 1.36 จะมีโชติมาตรสัมบูรณ์เท่าใด 

                               m – M  = 5 log d – 5 
                            1.36 – M  = 5 (log 25) – 5  
                                           = 5 (1.4) – 5 
                                           = 2
                                       M = 1.36 – 2 = - 0.64 

            เราเรียกค่าความแตกต่างระหว่างโชติมาตรปรากฏและโชติมาตรสัมบูรณ์ (m - M) ว่า Distance modulus  ถ้าเราทราบโชติมาตรปรากฏและระยะทางของดาว เราก็จะทราบโชติมาตรสัมบูรณ์ ดังตารางที่ 3  
             

    ตารางที่ 3  ความสัมพันธ์ระหว่างโชติมาตรปรากฎ โชติมาตรสัมบูรณ์ และระยะทาง

     โชติมาตรปรากฏ - โชติมาตรสัมบูรณ์
    m - M

      ระยะทาง
    d (พาร์เซก)

     -4
    -3
    -2
    -1
    0
    1
    2
    3
    4
    5
    10
    15
    20

     1.6
    2.5
    4.0
    6.3
    10
    16
    25
    40
    63
    100
    103
    104
    105

     ตัวอย่างที่ 2: ดาวฮาดาร์ (Beta Centauri) ในกลุ่มดาวคนครึ่งสัตว์ อยู่ห่างจากโลก 100 พาร์เซก มีโชติมาตรปรากฏ 0.6  จะมีโชติมาตรสัมบูรณ์เท่าใด 

                  จากตารางที่ ระยะทาง d = 100 พาร์เซค, m - M = 5                           
                                                                         0.6 - M = 5 
                                                                        ดังนั้น M = -5 + 0.6
                                                            โชติมาตรสัมบูรณ์ = -4.6


    สีและอุณหภูมิของดาวฤกษ์

                  ดาวฤกษ์ที่ปรากฏบนท้องฟ้าจะมีสีต่างกัน เมื่อศึกษาอุณหภูมิผิวของดาวฤกษ์จะพบว่า สีของดาวฤกษ์มีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิผิวของดาวฤกษ์ด้วย นักดาราศาสตร์แบ่งชนิดของดาวฤกษ์ตามสีและอุณหภูมิผิวของดาวฤกษ์ได้ 7 ชนิด คือ O B A F G K และ M แต่ละชนิดจะมีสีและอุณหภูมิผิวดังตารางต่อไปนี้

    ที่มาhttp://www.maceducation.com/e-knowledge/2502201100/images/13-10.gif

                 สีของดาวฤกษ์นอกจากจะบอกอุณหภูมิของดาวฤกษ์แล้ว ยังสามารถบอกอายุของดาวฤกษ์ด้วย ดาวฤกษ์ที่มีอายุน้อยจะมีอุณหภูมิที่ผิวสูงและมีสีน้ำเงิน ส่วนดาวฤกษ์ที่มีอายุมากใกล้ถึงจุดสุดท้ายของชีวิตจะมีสีแดงที่ เรียกว่า ดาวยักษ์แดง มีอุณหภูมิผิวต่ำ ดาวฤกษ์แต่ละดวงจะมีสิ่งที่เหมือนกัน คือ องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ธาตุไฮโดรเจน และธาตุฮีเลียม พลังงานของดาวฤกษ์ทุกดวงเกิดจากปฏิกิริยาเทอร์มอนิวเคลียร์ที่แก่นกลาง ของดาว แต่สิ่งที่ต่างกันของดาวฤกษ์ ได้แก่ มวล อุณหภูมิผิว ขนาด อายุ ระยะห่างจากโลก สี ความสว่าง ธาตุที่เป็นองค์ประกอบ และวิวัฒนาการที่ต่างกัน

    ชนิดสีดาวฤกษ์และอุณหภูมิ

    ที่มาhttp://www.thaispaceweather.com/IHY/Stars/images/star03.bmp


    ระยะห่างของดาวฤกษ์

    ดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ที่นักเรียนเห็นบนท้องฟ้าอยู่ไกลมาก ดวงอาทิตย์และดาวพรอก ซิมาเซนเทอรีเป็นเพียงดาวฤกษ์สองดวงในบรรดาดาวฤกษ์หลายแสนล้านดวงที่ประกอบกันเป็นกาแล็กซี (Galaxy) กาแล็กซีหลายพันล้านกาแล็กซีรวมอยู่ในเอกภพ นักดาราศาสตร์จึงคิดค้นหน่วยวัดระยะทางที่เรียกว่า ปีแสง (light-year) ซึ่งเป็นระยะทางที่แสงใช้เวลาเดิน ทางเป็นเวลา 1 ปี แสงเดินทางด้วยความเร็วประมาณ 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที ดังนั้น ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าเท่ากับ 9.5 ล้านล้านกิโลเมตร

    https://sites.google.com/site/benjawand305/_/rsrc/1348769181961/bth-thi3-dawvks/3-3raya-hang-khxng-dawvks/1.jpg?height=255&width=320

    ที่มาhttp://www.chaiyatos.com/skyl22.jpg

    ท้องฟ้าในเวลากลางคืนที่เต็มไปด้วยดาวฤกษ์ระยิบระยับอยู่มากมาย นัก ดาราศาสตร์ได้พบวิธีที่จะวัดระยะห่างของดาวฤกษ์เหล่านี้โดยวิธีการใช้ แพรัลแลกซ์(Parallax)      

    แพรัลแลกซ์ คือการย้ายตำแหน่งปรากฏ ของวัตถุเมื่อผู้สังเกตอยู่ในตำแหน่งต่างกัน

    นักวิทยาศาสตร์ใช้ปรากฏการณ์แพรัลแลกซ์ในการวัดระยะทางของดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้เคียงกับเรา โดยการสังเกตดาวฤกษ์ดวงที่เราต้องการวัดระยะทางในวันที่โลกอยู่ด้านหนึ่งของดวงอาทิตย์ และสังเกตดาวฤกษ์ดวงนั้นอีกครั้งเมื่อโลกโคจรมาอยู่อีกด้านหนึ่งของดวงอาทิตย์ ในอีก 6 เดือนถัดไป นักดาราศาสตร์สามารถวัดได้ว่าดาวฤกษ์ดวงนั้นย้ายตำแหน่งปรากฏไปเท่าไรโดยเทียบกับดาวฤกษ์ที่อยู่เบื้องหลังซึ่งอยู่ห่างไกลเรามาก ยิ่งตำแหน่งปรากฏย้ายไปมากเท่าใด แสดงว่าดาวฤกษ์ดวงนั้นอยู่ใกล้เรามากเท่านั้น ในทางตรงกันข้ามถ้าตำแหน่งปรากฏของดาวฤกษ์แทบจะไม่มีการย้ายตำแหน่งเลยแสดงว่าดาวฤกษ์นั้นอยู่ไกลจากเรามาก

                เราไม่สามารถใช้วิธีแพรัลแลกซ์ในการวัดระยะห่างของดาวฤกษ์ที่มากกว่า 1,000 ปีแสง เพราะที่ระยะทางดังกล่าว การเปลี่ยนตำแหน่งของผู้สังเกตบนโลกจากด้านหนึ่งของดวงอาทิตย์ไปยังอีก ด้านหนึ่งของดวงอาทิตย์แทบจะมองไม่เห็นการย้ายตำแหน่งปรากฏของดาวฤกษ์นั้นเลย

     

    เนบิวลา

          ดาวเกิดจากการรวมตัวของแก๊สและฝุ่นในอวกาศ (Interstellar medium)  เมื่อมีมวล มวลมีแรงดึงดูดซึ่งกันและกันตามกฎความโน้มถ่วงแห่งเอกภพ (The Law of Universal) ของนิวตันที่มีสูตรว่า F = G (m1m2/r2แรงดึงดูดแปรผันตามมวล มวลยิ่งมากแรงดึงดูดยิ่งมาก เราเรียกกลุ่มแก๊สและฝุ่นซึ่งรวมตัวกันในอวกาศว่า “เนบิวลา” (Nebula) หรือ “หมอกเพลิง” เนบิวลาเป็นกลุ่มแก๊สที่ขนาดใหญ่หลายปีแสง แต่เบาบางมีความหนาแน่นต่ำมาก องค์ประกอบหลักของเนบิวลาคือแก๊สไฮโดรเจน เนื่องจากไฮโดรเจนเป็นธาตุที่มีโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นธาตุตั้งต้นของทุกสรรพสิ่งในจักรวาล 

            เนบิวลามีอุณหภูมิต่ำ เนื่องจากไม่มีแหล่งกำเนิดความร้อน ในบริเวณที่แก๊สมีความหนาแน่นสูง อะตอมจะยึดติดกันเป็นโมเลกุล ทำให้เกิดแรงโน้มถ่วงดึงดูดแก๊สจากบริเวณโดยรอบมารวมกันอีก ทำให้มีความหนาแน่นและมวลเพิ่มขึ้นอีกจนกระทั่งอุณหภูมิภายในสูงประมาณ 10 เคลวิน   มวลที่เพิ่มขึ้นทำให้พลังงานศักย์โน้มถ่วงของแต่ละโมเลกุลที่ตกเข้ามายังศูนย์กลางของกลุ่มแก๊ส เปลี่ยนรูปเป็นพลังงานความร้อน และแผ่รังสีอินฟราเรดออกมา  

            ต่อมาเมื่อกลุ่มแก๊สมีความหนาแน่นสูงขึ้นจนความร้อนภายในไม่สามารถแผ่ออกมาได้ อุณหภูมิภายในแกนกลางจึงสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว  มวลของแก๊สมีแรงโน้มถ่วงสูงจนเอาชนะแรงดันซึ่งเกิดจากการขยายตัวของแก๊สร้อน กลุ่มแก๊สจึงยุบตัวเข้าสู่ศูนย์กลางจนมีอุณหภูมิสูงถึง 10 ล้านเคลวิน จุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันทำให้อะตอมของไฮโดรเจนหลอมรวมกันเป็นธาตุใหม่คือ ฮีเลียม มวลบางส่วนเปลี่ยนรูปเป็นพลังงาน (นิวเคลียร์ฟิวชัน) ตามสมการ E = mc2  ดาวฤกษ์จึงอุบัติขึ้นมา 

            ดาวฤกษ์ที่เกิดขึ้นใหม่มีอุณหภูมิสูงประมาณ 25,000 K เป็นดาวสเปกตรัมประเภท O แผ่รังสีเข้มสุดในช่วงอัลตราไวโอเล็ต  เนบิวลาที่ห่อหุ้มดาวดูดกลืนพลังงานจากรังสีอัลตราไวโอเล็ต และแผ่รังสีเข้มสุดในช่วง H-alpha ซึ่งมีความยาวคลื่น 656 nm ออกมาทำให้เรามองเห็นเป็น “เนบิวลาสว่าง” (Diffuse Nebula) สีแดง ได้แก่ เนบิวลาสว่างใหญ่ในกลุ่มดาวนายพราน (M 42 Great Orion Nebula) ในภาพที่ 1  ซึ่งเห็นได้ว่า ใจกลางของเนบิวลาสว่างมีดาวฤกษ์เกิดใหม่อยู่ภายใน

     

    http://www.lesa.biz/_/rsrc/1305951411403/astronomy/star/starbirth/m42.jpg?height=200&width=200 

    ภาพท่ี่ เนบิวลาสว่างในกลุ่มดาวนายพราน        

     

            เนื่องจากเนบิวลามีแก๊สและฝุ่นอยู่หนาแน่น บางครั้งอนุภาคขนาดใหญ่เป็นอุปสรรคขวางกั้นการแผ่รังสี จึงเกิดการกระเจิงของแสง (Scattering) ทำให้มองเห็นเป็นเนบิวลาสีฟ้า เช่นเดียวกับที่การกระเจิงของแสงอาทิตย์ในบรรยากาศโลกที่ทำให้ท้องฟ้าเป็นสีฟ้า เราเรียกเนบิวลาประเภทนี้ว่า “เนบิวลาสะท้อนแสง” (Reflection Nebula) ตัวอย่างเช่น เนบิวลาในกระจุกดาวลูกไก่ (M45 Pleiades) ดังภาพที่ 2 

     

         http://www.lesa.biz/_/rsrc/1305951417587/astronomy/star/starbirth/m45.jpg?height=195&width=200

    ภาพท่ี่ เนบิวลาสะท้อนแสงในกระจุกดาวลูกไก่ 

     

            อย่างไรก็ตามบางส่วนของเนบิวลาเป็นกลุ่มแก๊สที่มีอุณหภูมิต่ำอยู่อย่างหนาแน่น กลุ่มแก๊สเหล่านี้เหล่านี้บดบังแสงสว่างจากดาวฤกษ์เกิดใหม่หรือเนบิวลาสว่างซึ่งอยู่ด้านหลัง เราจึงมองเห็นเป็น “เนบิวลามืด” (Dark Nebula) เช่น เนบิวลารูปหัวม้าในกลุ่มดาวนายพราน (Horsehead Nebula) ดังภาพที่ 

     

    http://www.lesa.biz/_/rsrc/1305951423166/astronomy/star/starbirth/horsehead.jpg
    ภาพท่ี่ เนบิวลาสะท้อนแสงในกระจุกดาวลูกไก่ 

     

            แม้ว่าในตำราเรียนจะแบ่งเนบิวลาออกเป็น ประเภทคือ เนบิวลาสว่าง เนบิวลาสะท้อนแสง และเนบิวลามืด ในความจริงแล้วเนบิวลาทั้งสามชนิดเป็นเพียงปรากฎการณ์ซึ่งปรากฏให้เห็นเฉพาะในมุมมองจากโลก  หากดูในภาพที่ 4 จะเห็นว่า เนบิวลาไทรฟิด (M20 Trifid Nebula)  เป็นกลุ่มแก๊สซึ่งมีทั้งเนบิวลาสว่าง เนบิวลาสะท้อนแสง และเนบิวลามืด อยู่ในตัวเดียวกัน  ดาวเกิดใหม่ท่ีอยู่ภายในแผ่รังสีออกมากระตุ้นให้กลุ่มแก๊สท่ีอยู่บริเวณรอบๆ แผ่รังสีปรากฏเป็นเนบิวลาสว่างสีแดง แต่มีกลุ่มแก๊สหนาทึบบางส่วนมาบังแสงสว่างทำให้มองเห็นเป็นเนบิวลามืด และเกิดการกระเจิงของแสงที่กลุ่มแก๊สที่อยู่ด้านหลัง ทำให้มองเห็นเป็นเนบิวลาสะท้อนแสงสีน้ำเงิน 

     

    http://www.lesa.biz/_/rsrc/1324822562513/astronomy/star/nebula/trifid_nebula.jpg?height=212&width=320


    ภาพที่ 4 เนบิวลาทริฟิดในกลุ่มดาวคนยิงธนู


    มวลของดาวฤกษ์

           มวลของดาวฤกษ์แต่ละดวงจะแตกต่างกัน เพราะเนบิวลาที่ก่อกำเนิดเป็นดาวฤกษ์มีมวลไม่เท่ากัน มวลจึงเป็นสมบัติที่แตกต่างกันของดาวฤกษ์ นักดาราศาสตร์สามารถหามวลของดาวฤกษ์ได้หลายวิธี เช่น การใช้กฎเคพเลอร์ในการหามวลของดวงอาทิตย์ หรือ จากการสังเกตแสงจากดาว

          เนื่องจากดาวมีขนาดใหญ่มาก เราจึงไม่สามารถทำการหามวลของดาวด้วยวิธีชั่งตวงวัด นักดาราศาสตร์ไม่สามารถคำนวณหาขนาดมวลของดาวดวงเดียวโดดๆ ได้ แต่จะคำนวณหามวลของระบบดาวคู่ซึ่งโคจรรอบกันและกัน โดยอาศัยความสัมพันธ์​ระหว่างคาบวงโคจรและระยะห่างระหว่างดาวทั้งสอง  ตามกฎของเคปเลอร์-นิวตัน ตามสูตร

                        M1 + M2 = a3 / p2

     

            โดย M1, M2 = มวลของดาวทั้งสองในระบบดาวคู่ มีหน่วยเป็นจำนวนเท่าของดวงอาทิตย์               

                           a = ความยาวของเส้นผ่านครึ่งวงโคจรตามแกนยาว (Semimajor axis)
    ของดาวดวงใดดวงหนึ่ง มีหน่วยเป็น AU                

                           p = คาบการโคจร หน่วยเป็นปี

                                                                    http://www.lesa.biz/_/rsrc/1323936983672/astronomy/star-properties/stellar-mass/70_ophiuchi.jpg

                                          ภาพที่ วงโคจรของระบบดาว 70 Ophiuchi 

    ตัวอย่างที่ 1ระบบดาวคู่ 70 Ophiuchi ในกลุ่มดาวคนแบกงู  มีขนาดเส้นผ่านครึ่งวงโคจรตามแกนยาว (Semimajor axis) 22.3 AU มีคาบวงโคจร 87.7 ปี ตามภาพที่ 1  จะมีมวลเท่าไร 

             M1 + M2 = a3 / p2 

                       = (22.3 AU)3 / (87.7 ปี)2 

                       = 1.44 เท่าของดวงอาทิตย์

          ทั้งนี้นักดาราศาสตร์ใช้วิธีการศึกษาวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ด้วยวิธีการศึกษาวัตถุท้องฟ้าจำนวนมาก       และวิเคราะห์ด้วยเหตุและผลตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จากนั้นก็นำข้อมูลมาปะติดปะต่อกันเป็นเรื่องราววิวัฒนาการของดาวฤกษ์ตั้งแต่เกิดจนสิ้นอายุขัย ซึ่งดาวแต่ละดวงก็จะมีชีวิตยืนยาวเพียงใดนั้นจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักคือ  “ระดับมวลเริ่มต้นของดาว” ที่จะเป็นตัวลิขิตชีวิตของดาว ดังนั้นพฤติกรรม อายุขัยและลักษณะการตายของดาวจะถูกกำหนดเอาไว้แล้วทั้งสิ้น นักดาราศาสตร์จะแบ่งมวลของดาวฤกษ์เป็นสามระดับโดยคิดเป็นจำนวนเท่าเทียบกับมวลของดวงอาทิตย์ ดังนี้

         - ดาวฤกษ์มวลน้อย (Low Mass Star)  มีมวลตั้่งแต่ 2 เท่าของดวงอทิตย์ลงมา

         - ดาวฤกษ์มวลปานกลาง (Intermediate Mass Star) มีมวลตั้งแต่ 2-8 เท่าของดวงอาทิตย์

         - ดาวฤกษ์มวลมาก (High Mass Star) มีมวลตั้งแต่ 8 เท่าของดวงอาทิตย์

         ดาวฤกษ์มวลมากจะแรงดันและอุณหภูมิที่บริเวณใจกลางของดาวสูงมาก ทำให้ปฏิกริยานิวเคลียร์ฟิวชัน  แกนกลางดำเนินไปอย่างรวดเร็ว  ดาวจะมีค่าความสว่างมากแต่ความสว่างที่ได้มานั้นก็ต้องแลกกับอายุที่สั้นลง ต่างกับดาวมวลน้อยที่แรงดันและอุณหภูมิต่ำกว่ามาก ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน  แกนกลางดำเนินไปอย่างช้าๆ ซึ่งดาวอาจจะไม่สว่างมากแต่อายุมันก็จะยืนยาวขึ้น ยกตัวอย่างเช่นภาพต่อไปนี้ 

                                    http://www.narit.or.th/images/AstronomyNews/2013-07-19/as20130719_1_01.jpg

            ภาพที่ ภาพเนบิวลา เอสกิโม (Eskimo Nebula : NGC 2392) เป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ที่ถูกบันทึกในช่าวความยาวคลื่นสั้น อย่างรังสีเอ็กซ์ (บริเวณที่เป็นสีม่วง) ด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา (Chandra Space Telescope) ทำให้เราทราบว่าที่บริเวณใจกลางของเนบิวลานีมีอุณหภูมิสูงมาก จากภาพแสดงให้เห็นบั้นปลายชีวิตของดาวมาลน้อย ภาพโดย : X-ray: NASA/CXC/IAA-CSIC/N. Ruiz et al; Optical: NASA/STScI

          ภาพข้างต้นคือภาพเนบิวลา NGC 2392 แต่ด้วยลักษณะที่คล้ายกับหน้าของชาวเอสกิโมที่กำลังสวมเสื้อขนสัตว์อยู่ นักดาราศาสตร์เลยเรียกมันว่า เนบิวลาเอสกิโม (Eskimo Nebula) ซึ่งมีระยะจากโลกประมาณ 4,200  ปีแสง ภาพเนบิวลาเอสกิโมเป็นตัวอย่างลักษณะบั้นปลายชีวิตของดาวมวลน้อย

          เป็นเช่นนี้เพราะหลังจากการเผาไหม้ไฮโดรเจนที่แกนกลางของดาวหยุดลง  ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน  แกนกลางของดาวฤกษ์มวลน้อยก็จะหยุดลงดาวจะเสียเสถียรภาพ แรงโน้มถ่วงภายในจะดึงให้ผิวของดาวเกิดการยุบตัวเข้าหาแกนกลาง ขณะที่เกิดการยุบตัวจะมีความดันเกิดขึ้นทำให้ผิวของดาวมีอุณหภูมิสูงขึ้นและมากพอที่จะจุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันเผาผลาญไฮโดรเจนที่บริเวณผิวของดาว ดาวจะมีอุณหภูมิสูงมากและจะคงสถาพเช่นนี้ไประยะหนึ่ง จนกระทั่งแกนกลางของดาวซึ่งเป็นฮีเลียมมีอุณหภูมิสูงมากพอจนสามารถจุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันที่แกนกลางขึ้นอีกครั้ง ปฏิกิริยาขั้นนี้จะหลอมฮีเลียมให้เป็นธาตุลำดับถัดไป (เทียบจากตารางธาตุ) ที่มีมวลอะตอมสูงขึ้นนั่นคือคาร์บอน ในช่วงนี้ดาวจะเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันไปพร้อมๆกันสองบริเวณได้แก่ฟิวชันเปลือกไฮโดรเจนหลอมไฮโดรเจนเป็นฮีเลียม และฟิวชันฮีเลียมที่แกนกลางหลอมฮีเลียมเป็นคาร์บอน ทำให้ดาวมีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความดันที่แกนกลางสูงขึ้นส่งผลให้เปลือกของดาวขยายหรือพองออก สีของดาวก็จะมีการเปลี่ยนแปลงจากสีแดงไปเป็นสีน้ำเงินขาว

         จนกระทั่งแกนของดาวกลายเป็นก้อนคาร์บอนฟิวชันที่แกนกลางจะหยุดลงอีกครั้ง แกนกลางจะมีอุณหภูมิลดลงจากเดิม ความดันก็ลดลงด้วยทำให้ดาวเกิดการยุบตัวกระบวนการเดิมก็จะเกิดขึ้นอีกครั้ง นั่นคือการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันที่เปลือกจะหลอมฮีเลียมเป็นคาร์บอนเช่นเดียวกับที่แกนกลางปฏิกิริยาจะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ดาวจะพองตัวออกอีกครั้งซึ่งขนาดของดาวจะใหญ่กว่าเดิมหลายเท่า เรียกดาวที่มีลักษณะเช่นนี้ว่าดาวยักษ์แดง และดาวจะคงสภาพเช่นนี้จนแกนคาร์บอนของดาวก็จะถูกอัดแน่นขึ้นเรื่อยๆ ทำให้แกนกลางของดาวมีขนาดเล็กลงแต่ความหนาแน่นสูงมาก อุณหภูมิที่แกนกลางก็จะสูงขึ้นจากผลของการบีบอัดหรือการยุบตัว จนถึงขั้นที่ดาวไม่สามารถยุบตัวต่อไปได้อีกทั้งนี้เป็นผลมาจากมวลของดาวที่มีน้อยไม่สามารถที่จะเกิดปฏิกิริยาต่อไปได้อีก ดาวไม่สามารถจุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันได้อีกแล้ว ความดันที่แกนกลางของดาวมากขึ้นและไม่สามารถยุบตัวได้อีก

          เมื่อดาวไม่สามารถจุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันระดับต่อไปได้ จึงถือว่าเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของชีวิต ดาวดวงนั้นจึงรอเพียงวันที่จะมืดหายไปในอวกาศ แกนของดาวจะเริ่มเย็นลงและดันผิวและเนื้อสารที่เปลือกของดาวออกคล้ายฟองขนาดใหญ่ฟุ้งกระจายรอบๆ แกนคาร์บอน เรียกว่าเนบิวลาดาวเคราะห์ (Planetary Nebula) จากนั้นก็จะเย็นตัวลงเหลือเพียงแกนคาร์บอนเปลือยเปล่า และมีอุณหภูมิสูงส่องแสงอยู่ในช่วงอัลตราไวโอเลต เรียกว่าดาวแคระขาว แต่เมื่อเวลาผ่านไปดาวแคระขาวก็จะเย็นตัวลงและมืดหายไปชั่วนิรันดร์ดังภาพ

     

                                          http://www.narit.or.th/images/AstronomyNews/2013-07-19/as20130719_1_02.jpg

     ภาพที่ แผนภาพแสดงเส้นประวัติชีวิตของดาวฤกษ์ในช่วงวาระสุดท้าย หลังจากดาวฤกษ์มวลน้อยเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ขั้นสุดท้าย แกนกลางเป็นคาร์บอนทั้งหมดแล้ว ดาวจะจบชีวิตลงโดยดันผิวและเนื้อสารออกมาเป็นฝุ่นก๊าซฟุ้งกระจายเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ เมื่อเวลาผ่านไปฝุ่นเหล่านี้จะเย็นตัวลงมืดดับไปเหลือแต่แกนของดาวที่เป็นคาร์บอนขนาดเล็กมีอุณหภูมิสูงแผ่รังสีในช่วงคลื่นอัลตราไวโอเลต นั่นคือดาวแคระขาว จากนั้นอุณหภูมิก็จะเริ่มเย็นลงเรื่อยๆ จนมืดดับไปเช่นเดียวกัน 

          ข้อมูลเบื้องต้นเป็นรายละเอียดการสิ้นอายุขัยของดาวมวลน้อย นักดาราศาสตร์กล่าวว่าอีกประมาณห้าพันล้านปีดวงอาทิตย์ก็จะมีจุดจบคล้าย  กัน บั้นปลายชีวิตก็จะมีลักษณะเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์เช่นกัน นักดาราศาสตร์พยายามศึกษาข้อมูลการสิ้นอายุขัยของดาวด้วยบันทึกภาพถ่ายในหลายช่วงความยาวคลื่น เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางกายภาพและทางเคมีของวัตถุดังกล่าว ภาพสวยงามทั้งหลายที่ถูกเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตนั้นสามารถอธิบายได้ด้วยหลักการทางฟิสิกส์ สีแต่ละสีในภาพจะบ่งบอกถึงคุณสมบัติที่ต่างกัน เช่นสีม่วงในภาพของเนบิวลาดาวเคราะห์เหล่านี้เป็นข้อมมูลภาพที่ได้จากการบันทึกภาพในช่วงรังสีเอ็กซ์ จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา จะบ่งบอกถึงอุณหภูมิที่สูงมาก  แกนกลางของเนบิวลาดาวเคราะห์ ส่วนสีเขียว สีแดงและสีฟ้าเป็นข้อมมูลที่ได้จากการบันทึกภาพของกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลที่ช่วงความยาวคลื่นต่างกัน เป็นต้น 

                                         http://www.narit.or.th/images/AstronomyNews/2013-07-19/as20130719_1_03.jpg

    ภาพที่ เป็นภาพของเนบิวลาดาวเคราะห์ที่ถูกบันทึกไว้ในแกลอรี่ภาพถ่ายขององค์การนาซา ในปี ค.ศ. 2012 โดยวัตถุท้องฟ้าทั้งหมดในภาพนั้นอยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางไม่เกิน 5,000  ปีแสง ซึ่งถูกบันทึกด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลและกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา และนำข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศทั้งสองมารวมกัน ได้เป็นภาพที่มีสีสันสวยงามดังภาพ

     





     




    กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์

    95  หมู่ 9  ต.แม่ลาน้อย  อ.แม่ลาน้อย  จ.แม่ฮ่องสอน  รหัสไปรษณีย์ 58120  โทร 053-689-2423

    Copyright © 2011-2012, Aerobics Gym. All Rights Reserved.

    Free Web Hosting