โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ



    ธรณีประวัติ

        อายุทางธรณีวิทยา  

            1.  อายุเปรียบเทียบ (relative  age)  เป็นการหาอายุหิน โดยการนำข้อมูลลักษณะโครงสร้างของหินหรือ

    ซากดึกดำบรรพ์ที่ทราบอายุ ไปเปรียบเทียบกับช่วงเวลาทางธรณีวิทยา หรือธรณีกาล (geologic age)  ดังตาราง

    รูปที่ 1 ก็สามารถบอกอายุของหินว่าอยู่ในยุคใด หรือช่วงอายุเป็นเท่าไรได้

    รูปที่ 1 ซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบเทียบกับตารางธรณีกาล

             2.  อายุสัมบูรณ์ (absolute  age)  เป็นการหาอายุของหินหรือซากดึกดำบรรพ์  โดยใช้วิธีคำนวณจากครึ่งชีวิต

    ของธาตุกัมมันตรังสีที่อยู่ในหิน หรือซากดึกดำบรรพ์นั้น ๆ ซึ่งสามารถบอกเป็นจำนวนปีที่ค่อนข้างแน่นอน

             ธาตุกัมมันตรังสีที่นิยมนำมาหาอายุสัมบูรณ์ ได้แก่  ธาตุคาร์บอน-14  ธาตุโพแทสเซี่ยม-40 ธาตุเรเดียม-226

    และธาตุยูเรเนียม-238 เป็นต้น

    [ 4. การหาอายุทางธรณีวิทยา วิธีใดที่มีสามารถบอกจำนวนปีได้แน่นอน ]

    [ 5. การหาอายุทางธรณีวิทยาแบบอายุเปรียบเทียบทำได้โดยนำตัวอย่างหินหรือซากดึกดำบรรพ์เปรียบเทียบกับอะไร ]

    [ 6. ตารางธรณีกาลได้แบ่งยุคต่าง ๆ ออกเป็นกี่ยุค ]

    [ 7. ปัจจุบันเราอยู่ยุคใดของตารางธรณีกาล ]

    [ 8. ไดโนเสาร์อยู่ใสยุคใดของตารางธรณีกาล ]

    [ 9. สิ่งมีชีวิตชนิดแรกของโลกเกิดขึ้นยุคใดของตารางธรณีกาล ]


       ซากดึกดำบรรพ์

            ซากดึกดำบรรพ์ หมายถึง ซากและร่องรอยของบรรพชีวิน(Ancient life)ที่ประทับอยู่ในหิน บางแห่งเป็นรอยพิมพ์ บางแห่งก็มีซากเดิมปรากฏอยู่ รอยตีนสัตว์ มูลสัตว์ ถ่านหิน ไม้กลายเป็นหิน รวมอยู่ในหมู่ซากดึกดำ-บรรพ์นี้เหมือนกัน ถ้าเป็นไฟลัมหรือชั้นของชีวินดึกดำบรรพ์ใดที่สามารถใช้บ่งบอกอายุหินได้ เรียกว่า ซากดึกดำบรรพ์ดรรชนี(Index fossil) การศึกษาซากดึกดำบรรพ์ เรียกว่า เพลิโอนโทโลยี ซึ่งบ่งชี้ว่า สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นบนโลกอย่างน้อย 3,500 ล้านปีมาแล้ว ตั้งแต่นั้นมาก็เกิดสายพันธ์ของสัตว์และพืช ซึ่งส่วนใหญ่ได้สูญพันธ์ไปแล้ว การศึกษาซากที่ยังหลงเหลืออยู่ทำให้เราได้เห็นชีวิตในยุคดึกดำบรรพ์ที่อยู่บนผิวโลก
    กลุ่มชีวินดึกดำบรรพ์(Fossil Assemblage) ได้แก่
              1. กลุ่มชีวิน : กลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วยสัตว์หรือพืชชนิดเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน หรือกลุ่มของซากดึกดำบรรพ์ที่ปรากฏอยู่ในลำดับชั้นหินชั้นเดียวกันในพื้นที่ใดพื้นที่หนี่ง
              2. กลุ่มแร่ : แร่ต่าง ๆที่ประกอบกันขึ้นเป็นหินแต่ละชนิด โดยเฉพาะหินอัคนีและหินแปร
    ชั้นกลุ่มชีวิน(Assemblage zone; Cenozone ) หมายถึงกลุ่มชั้นหินซึ่งประกอบด้วยซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะเด่นชัดเฉพาะกลุ่มนั้น ๆซึ่งแตกต่างจากส่วนชั้นหินใกล้เคียง ส่วนชั้นกลุ่มชีวินนี้ใช้ประโยชน์เป็นตัวบ่งชี้ถึงสภาพแวดล้อมในอดีตและใช้ในการเทียบชั้นหิน

    การเกิดซากดึกดำบรรพ์
              ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งมีชีวิตไปเป็นซากดึกดำบรรพ์เกิดขึ้นกว่าหลายล้านปีมาแล้ว ทันทีที่สัตว์และพืชตาย มันก็จะเริ่มแยกออกเป็นส่วน ๆหรือผุผังไป ส่วนที่แข็งอย่างเปลือกหอย กระดูกและฟันของสัตว์หรือไม้จะยังคงทนอยู่นานกว่าเนื้อเยื่อนุ่ม ๆแต่มักจะกระจัดกระจายหายไปเพราะการกระทำของสัตว์ ลม หรือน้ำ สิ่งใดจะกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์จะถูกฝังลงไปใต้ดินอย่างรวดเร็วก่อนที่จะแยกออกเป็นส่วน ๆและถูกตะกอนต่าง ๆ เช่น ทราย หรือโคลนที่ถูกน้ำพัดพามาทับถม บางชิ้นค่อย ๆ ละลายหายไป บางชิ้นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีหรือบิดเบี้ยวผิดรูปไปเนื่องจากอุณหภูมิและความกดดัน

              สรุปขั้นตอนการเกิดซากดึกดำบรรพ์ ได้ดังนี้
              1. สัตว์หรือพืชตายลงจมลงสู่ก้นทะเลและส่วนที่เหลือจะค่อย ๆถูกฝังลงในชั้นของตะกอน
              2. ตะกอนชั้นล่าง ๆได้กลายเป็นหินและส่วนที่เหลืออยู่จะแข็งตัวกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์
              3. หินถูกดันขึ้นไปมาและถูกกัดเซาะ
              4. ซากดึกดำบรรพ์โผล่ขึ้นสู่ชั้นผิวโลก


    ภาพแสดง รูปฟอสซิลไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว ต.โนนบุรี อ. สหัสขันธ์จ. กาฬสินธุ์

              ซากดึกดำบรรพ์ส่วนใหญ่มาจากส่วนที่แข็ง ๆของสัตว์และพืช เช่น เปลือกหอย กระดูก ฟัน หรือไม้ ซึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลงไปจากรูปเดิมหรือไม่ก็เปลี่ยนเป็นแร่ธาตุสัตว์และพืชจะถูกเก็บอยู่ในหนองซึ่งทับถมกันจนดำเกือบเป็นน้ำมันดิน พีต น้ำแข็งและอำพัน ยางของต้นไม้โบราณ ไข่ รอยเท้าและโพรงไม้ต่างก็สามารถกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ได้ทั้งสิ้น จากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ทำให้ทราบว่า สิ่งมีชีวิตได้อุบัติขึ้นบนโลกอย่างน้อย3,500ล้านปีมาแล้วเกิดมีสายพันธ์สัตว์ และพืชซึ่งส่วนใหญ่ได้สูญพันธุ์ไปแล้วมีแต่ชิ้นส่วนเล็กจิ๋วที่ยังหลงเหลือ เป็นซากดึกดำบรรพ์ซากดึกดำบรรพ์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกคือเซลล์รูปร่างเหมือนบักเตรีขนาดเล็กมากมีอายุถึง 3,500 ล้านปี สัตว์ที่มีโครงสร้างยุ่งยากประกอบด้วยเซลล์หลายเซล เช่น ไทบราซิเดียมจากออสเตรเลียและอยู่ในมหายุคพรีแคมเบรียมตอนปลาย


    ภาพแสดง รูป รอยเท้าไดโนเสาร์ภูแฝก ต. ภูแล่นช้าง กิ่งอำเภอนาคู จ. กาฬสินธุ์

    ประเภทของซากดึกดำบรรพ์

              ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มักจะมี 2 ส่วน หลังจากถูกฝังลงไปแล้ว ตัวสัตว์จะเน่าเปื่อย และทิ้งส่วนที่เป็นแบบพิมพ์กลวง ๆเอาไว้ ถ้ามีตะกอนตกลงไปและแข็งตัวกลายเป็นรูปหล่อ 
              ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี(Index Fossil) ซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะในหินบริเวณใดบริเวณหนึ่งสามารถใช้บ่งบอกอายุของชั้นหินนั้นได้
     
              ซากดึกดำบรรพ์เฉพาะแหล่ง( facies fossil) ซากดึกดำบรรพ์ชนิดที่พบอยู่เฉพาะในชั้นหินที่กำหนด
     หรือเป็นชนิดที่ปรับตัวให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่จำกัดในแหล่งเกิดชั้นหินนั้นแล้ว สภาพแวดล้อมดังกล่าวนี้เป็นสภาพแวดล้อมที่ผิดแปลกไปจากสภาพปรกติโดยทั่วไป 
              ซากดึกดำบรรพ์แทรกปน(Introduced Fossils; infiltrated fossil) หมายถึง
     ซากดึกดำบรรพ์ที่มีอายุอ่อนกว่า ถูกนำพาเข้าไปแทรกปนอยู่กับซากดึกดำบรรพ์หรือหินที่มีอายุแก่กว่า ปรากฏการณ์นี้มักเกิดขึ้นกับซากดึกดำบรรพ์เล็ก ๆซึ่งอยู่ในชั้นหินตอนบนที่ของเหลวนำพาลงไปชั้นหินตอนล่างที่มีอายุแก่กว่า ตามรอยแตก รูหรือโพรงของสัตว์และช่องว่างที่เกิดจากรากไม้ 
              ซากดึกดำบรรพ์ปริศนา( Dubio fossil ) โครงสร้างซึ่งน่าจะมีต้นกำเนิดจากสิ่งมีชีวิต
     แต่เนื่องจากไม่สามารถแยกรายละเอียดได้ จึงไม่แน่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่ 
              ซากดึกดำบรรพ์พัดพา(Reworked fossil ) เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่อยู่ในชั้นหินเดิม
     ต่อมาหินนั้นถูกกัดกร่อน ซากดึกดำบรรพ์จึงถูกพัดพาไปสะสมตัวอยู่ในชั้นหินที่มีอายุอ่อนกว่า
              ซากประจำหน่วย ( Characteristic fossil diagonostic fossil) หมายถึงสกุลหรือชนิดของซากดึกดำบรรพ์ที่นำมาใช้เป็นเครื่องอ้างถึง กำหนดหรือเป็นลักษณะเฉพาะตัวของหน่วยหิน หรือหน่วยเวลา โดยใช้ชนิดที่พบอยู่ในเฉพาะชั้นหินนั้น หรือชนิดที่พบมีปริมาณมากมายในชั้นหินนั้นได้ คล้ายกับซากดึกดำบรรพ์ดัชนี


    ภาพแสดง ซากของสััตว์ดึกดำบรรพ์


    ภาพแสดง รูป รอยเท้าไดโนเสาร์ภูหลวง เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูหลวง จ. เลย

             การเปลี่ยนแปลงจากซากสิ่งมีชีวิตมาเป็นซากดึกดำบรรพ์นั้น ทำได้ในหลายลักษณะ โดยที่เมื่อสิ่งมีชีวิตตายลง ส่วนต่างๆของสิ่งมีชีวิตจะค่อยๆถูกเปลี่ยน ช่องว่าง โพรง หรือรู ต่างๆในโครงสร้างอาจมีแร่เข้าไปตกผลึกทำให้แข็งขึ้น เรียกขบวนการนี้ว่า petrified หรือ เนื้อเยื้อ ผนังเซลล์ และส่วนแข็งอื่นๆ ถูกแทนที่ด้วยแร่ โดยขบวนการ replacement เปลือกหอยหรือสิ่งมีชีวิต ที่จมอยู่ตามชั้นตะกอน เมื่อถูกละลายไปกับน้ำบาดาล จะเกิดเป็นรอยประทับอยู่บนชั้นตะกอน ซึ่งเรียกลักษณะนี้ว่า mold หากว่าช่องว่างนี้มีแร่เข้าไปตกผลึก จะได้ซากดึกดำบรรพ์ ในลักษณะที่เรียกว่า cast สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีลักษณะบอบบาง เช่นพวกแมลง การเก็บรักษาให้กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ โดยปกติทำได้ยาก วิธีการที่เหมาะสม สำหรับสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ ก็คือการเก็บไว้ในยางไม้ (amber) ซึ่งยางไม้นี้จะป้องกันสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จากการทำลายโดยธรรมชาติ 

              นอกจากนี้ ซากดึกดำบรรพ์ยังอาจเป็นร่องรอย (tracks) ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต เช่น ร่องรอยของสิ่งมีชีวิต รอยคืบคลาน รอยเท้า ที่อยู่ในชั้นตะกอนและกลายเป็นหินในระยะเวลาต่อมา หรืออาจเป็นช่อง รู โพรง (burrows) ในชั้นตะกอน ในเนื้อไม้ หรือในหิน ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตและมีแร่ไปตกผลึกในช่องเหล่านี้ มูลสัตว์หรือเศษอาหารที่อยู่ในกระเพาะ (coprolites) เป็นซากดึกดำบรรพ์ ที่มีประโยชน์ในการบอกถึงนิสัยการกินของสัตว์นั้นๆ หรืออาจเป็นก้อนหินที่สัตว์กินเข้าไป (gastroliths) เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร 

              ซากของสิ่งมีชีวิตหรือซากชิ้นส่วนของร่างกายสิ่งมีชีวิตสมัยดึกดำบรรพ์ที่คงรูปร่างให้เห็นได้ตัวอย่างเช่น
     
              1. กระดูกและฟันของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง
     ซากของสิ่งมีชีวิตที่แห้งสนิทซึ่งพบในบริเวณที่ร้อนจัด หรือซากสิ่งมีชีวิตที่พบอยู่ตามถ้ำและอุโมงค์ ซากสิ่งมีชีวิตที่ถูกเก็บรักษาไว้ใต้น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกหรือบ่อถ่านหิน ในแหล่งน้ำมันหรือหินทราย 
              2. แมลง แมงมุม ชิ้นส่วนของดอกไม้
     และสิ่งอื่นๆที่ฝังตัวอยู่ในยางไม้ 
              3. เปลือกหอยต่างๆโครงร่างแข็งที่เป็นที่อยู่ของประการัง ฟองน้ำ
     และสาหร่ายบางชนิดที่มีสารพวกแคลเซียมประกอบอยู่ด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะฝังตัวอยู่ในหินปูน 
              4. โปรโตซัวและไดอะตอมที่มีโครงสร้างเป็นสารพวกซิลิกาหรือแคลเซียมตายและตกตะกอนทับถมอยู่ที่ก้นมหาสมุทร
     แข็งตัวจับกันเป็นชั้นหนา 
              5. เกสรดอกไม้
     และชิ้นส่วนของดอกไม้ที่ไม่เน่าเปื่อยผุพัง เนื่องจากตกลงไป จมปลักในโคลนที่มีกรดบางชนิดสะสมอยู่ 
              6. ซากของสิ่งมีชีวิตหรือซากชิ้นส่วนที่แข็งกลายเป็นหิน ตัวอย่างเช่น
     ชิ้นส่วนของกระดูกหรือเปลือกหุ้มตัวสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลง กุ้ง เปลือกหอย หรือเนื้อเยื่อพืชที่มีสารพวกซิลิกาแทรกเข้าไปแทนที่ ซากเหล่านี้ฝังตัวอยู่ในหินทราย ภายหลังหินทรายถูกกระแสลมพัดสึกกร่อนหรือถูกกระแสน้ำชะหินทรายที่อยู่รอบข้างผุกร่อนไหลตามน้ำ เหลือแต่ซากดึกดำบรรพ์ซึ่งมีเนื้อละเอียดแน่นกว่า จึงไม่ผุกร่อนและปรากฏให้เห็น 
              7. ร่องรอยหรือรอยพิมพ์ซากสิ่งมีชีวิตสมัยดึกดำบรรพ์
     พบในหินทรายเนื้อละเอียดและในหินชนวน โดยมากมักเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีร่างกายอ่อนนิ่ม เช่น แมงกะพรุน บางครั้งอาจเป็นเปลือกหอยสองฝาที่ฝังตัวอยู่ในถุงทราย ภายหลังเปลือกหอยสลายไปมีสารพวกซิลิกาบรรจุอยู่เต็มในช่องว่างแทนที่เปลือกหอย ร่องรอยเช่นนี้อาจแสดงให้เห็นส่วนด้านนอกของเปลือกหอยก็ได้ 
              8. ร่องรอยทางเดินของสิ่งมีชีวิตที่เหยียบย่ำบน โคลนตม
     ซึ่งสามารถคงสภาพไว้โดยมีตะกอนมาทับถมบนรอยเท้าเหล่านั้น และเกิดการแข็งตัวขึ้นเรื่อยๆภายหลัง 
              9. ผลิตภัณฑ์ที่สิ่งมีชีวิตสร้างและขับออกมาสะสมไว้
     เช่นแนวประการังต่อมากลายเป็นหินปูน 
             10. ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการสลายตัวของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเกิดขึ้นอย่างไม่สมบูรณ์
     เช่น น้ำมันปิโตรเลียม ถ่านหิน แกรไฟต์ เป็นต้น

    ลำดับชั้นหิน 

    ลำดับชั้นหิน คือ การเรียงตัวทับถมกันของตะกอนที่ตกทับถม ณ ที่แห่งหนึ่งในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ซึ่งมักพบว่าชนิดของตะกอนจะแตกต่างกันไปตามกาลเวลา ขึ้นกับสภาพแวดล้อมในอดีตช่วงนั้น เช่น ยุคแคมเบรียนจะสะสมตัวหินทราย หินทรายแป้งและค่อยๆ เปลี่ยนเป็นหินดินดาน หินปูนในยุคออร์โดวิเชียน เป็นต้น

              อายุของหิน ก็คือช่วงเวลาที่ตะกอนหรือลาวาตกสะสมตัวหรือกำลังแข็งตัวหรือจับตัวเช่น ดินสะสมตัวในทะเลสาบเมื่อประมาณ 260 ล้านปี เมื่อจับตัวเป็นหินและคงอยู่ถึงปัจจุบัน เราก็บอกว่าหินนี้มีอายุ 260 ล้านปีที่ผ่านมา สำหรับวิธีศึกษาหาอายุก็ใช้ทั้งค่าอัตราส่วนการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีหรือซากดึกดำบรรพ์ในช่วงนั้นที่เผอิญตายพร้อมๆ กับการตกของตะกอน


    ภาพแสดง การลำดับอายุของชั้นหินที่มีอายุมากที่สุดจะอยู่ด้านล่าง ขึ้นไปสู่อายุหินน้อยที่ด้านบน          ประโยชน์ของการใช้ข้อมูลธรณีวิทยา ธรณีวิทยาถือว่าเป็นการศึกษาธรรมชาติ โลกที่เราเหยียบ อาศัยอยู่ ซึ่งถ้าเข้าใจมันทั้งหมด เราก็สามารถใช้ประโยชน์จากธรรมชาติและหลีกเลี่ยงภัยธรรมชาติได้ คุณหาทรัพยากร เชื้อเพลิงไม่ได้ ถ้าไม่รู้ธรณีวิทยา คุณหาแหล่งที่อาศัย สถานที่ ที่มั่นคงต่อชีวิตไม่ได้ถ้าไม่รู้ธรณีวิทยา (เหมือนการไปสร้างบ้านในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากก็เพราะไม่เข้าใจธรรมชาติทางธรณีวิทยา ) และที่สำคัญก็คือวิชานี้เป็นวิชาศึกษาโลก ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของมนุษย์

               อายุของหินบนเทือกเขากลางมหาสมุทร เนื่องจากหินตรงนี้เป็นหินอัคนีประเภทบะซอลต์เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นต้องหาอายุโดยใช้การสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีเท่านั้น รู้สึกว่าตัวหลังๆ เขาใช้ AR-AR กันนะ อายุได้ตั้งแต่ 160 ล้านปีถึงปัจจุบัน

     


    ภาพแสดง การเกิดหินต่างๆ

               หิน (Rock) หมายถึง มวลของแข็งที่ประกอบขึ้นด้วยแร่ชนิดเดียวกันหรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ แบ่งตามลักษณะการเกิดได้ 3 ชนิดใหญ่

    1. หินอัคนี (Igneous Rock)

              เกิดจากหินหนืดที่อยู่ใต้เปลือกโลกแทรกดันขึ้นมาแล้วตกผลึกเป็นแร่ต่างๆ และเย็นตัวลงจับตัวแน่นเป็นหินที่ผิวโลก แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ

    • หินอัคนีแทรกซอน (Intrusive Igneous Rock) เกิดจากการเย็นตัวลงอย่างช้า ๆ ของหินหนืดใต้เปลือกโลก มีผลึกแร่ขนาดใหญ่ (>1 มิลลิเมตร) เช่นหินแกรนิต (Granite) หินไดออไรต์ (Diorite) หินแกบโบร (Gabbro)
    • หินอัคนีพุ (Extruisive Igneous Rock) หรือหินภูเขาไฟ (Volcanic Rock) เกิดจากการเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วของหินหนืดที่ดันตัวพุออกมานอกผิวโลกเป็นลาวา (Lava) ผลึกแร่มีขนาดเล็กหรือไม่เกิดผลึกเลยเช่น หินบะซอลต์ (Basalt) หินแอนดีไซต์ (Andesite) หินไรโอไลต์ (Rhyolite)


    ภาพแสดง หินแกรนิต แสดงลักษณะทั่วไป และผลึกแร่ในเนื้อหิน

    2. หินชั้นหรือหินตะกอน (Sedimentary Rock)

              เกิดจากการทับถม และสะสมตัวของตะกอนต่างๆ ได้แก่ เศษหิน แร่ กรวด ทราย ดินที่ผุพังหรือสึกกร่อนถูกชะละลายมาจากหินเดิม โดยตัวการธรรมชาติ คือ ธารน้ำ ลม ธารน้ำแข็งหรือคลื่นในทะเล พัดพาไปทับถมและแข็งตัวเป็นหินในแอ่งสะสมตัวหินชนิดนี้แบ่งตามลักษณะเนื้อหินได้ 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ

    • หินชั้นเนื้อประสม (Clastic Sedimentary Rock) เป็นหินชั้นที่เนื้อเดิมของตะกอน พวกกรวด ทราย เศษหินและดิน ยังคงสภาพอยู่ให้พิสูจน์ได้ เช่น หินทราย (Sandstone) หินดินดาน (Shale) หินกรวดมน (Conglomerate) เป็นต้น
    • หินเนื้อประสาน (Nonclastic Sedimentary Rock) เป็นหินที่เกิดจากการตกผลึกทางเคมี หรือจากสิ่งมีชีวิต มีเนื้อประสานกันแน่นไม่สามารถพิสูจน์สภาพเดิมได้ เช่น หินปูน (Limestone) หินเชิร์ต (Chert) เกลือหิน (Rock Salte) ถ่านหิน (Coal) เป็นต้น


    ภาพแสดง หินทรายแสดงชั้นเฉียงระดับ


    ภาพแสดง ชั้นหินทรายสลับชั้นหินดินดาน


    ภาพแสดง หินกรวดมน


    ภาพแสดง ชั้นหินปูน


    ภาพแสดง ชั้นหินเชิร์ต

    3. หินแปร (Metamorphic Rock)

            เกิดจากการแปรสภาพโดยการกระทำของความร้อน ความดันและปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้เนื้อหิน แร่ประกอบหินและโครงสร้างเปลี่ยนไปจากเดิม การแปรสภาพของหินจะอยู่ในสถานะของของแข็ง ซึ่งจัดแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

    • การแปรสภาพบริเวณไพศาล (Regional metamorphism) เกิดเป็นบริเวณกว้างโดยมีความร้อนและความดันทำให้เกิดแร่ใหม่หรือผลึกใหม่เกิดขึ้น มีการจัดเรียงตัวของแร่ใหม่ และแสดงริ้วขนาน (Foliation) อันเนื่องมาจากแร่เดิมถูกบีบอัดจนเรียงตัวเป็นแนวหรือแถบขนานกัน เช่น หินไนส์ (Gneiss) หินชีสต์ (Schist) และหินชนวน (Slate) เป็นต้น
    • การแปรสภาพสัมผัส (Contact metamorphism) เกิดจากการแปรสภาพโดยความร้อนและปฏิกิริยาทางเคมีของสารละลายที่ขึ้นมากับหินหนืดมาสัมผัสกับหินท้องที่ ไม่มีอิทธิพลของความดันมากนัก ปฏิกิริยาทางเคมีอาจทำให้ได้แร่ใหม่บางส่วนหรือเกิดแร่ใหม่แทนที่แร่ในหินเดิม หินแปรที่เกิดขึ้นจะมีการจัดเรียงตัวของแร่ใหม่ ไม่แสดงริ้วขนาน (Nonfoliation) เช่น หินอ่อน (Marble) หินควอตไซต์ (Quartzite)


    ภาพแสดง หินแปร


    ภาพแสดง หินไนส์ (Gneiss) 


    ภาพแสดง หินอ่อน (Marbel)


    ภาพแสดง หินอ่อน (Marble)

    วัฏจักรของหิน

        วัฏจักรของหิน (Rock cycle) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของหินทั้ง 3 ชนิด จากหินชนิดหนึ่งไปเป็นอีกชนิดหนึ่งหรืออาจเปลี่ยนกลับไปเป็นหินชนิดเดิมอีกก็ได้ กล่าวคือ เมื่อ หินหนืด เย็นตัวลงจะตกผลึกได้เป็น หินอัคนีเมื่อหินอัคนีผ่านกระบวนการผุพังอยู่กับที่และการกร่อนจนกลายเป็นตะกอนมีกระแสน้ำลมธารน้ำแข็งหรือคลื่นในทะเลพัดพาไปสะสมตัวและเกิดการแข็งตัวกลายเป็นหิน อันเนื่องมาจากแรงบีบอัดหรือมีสารละลายเข้าไปประสานตะกอนเกิดเป็นหินชั้นขึ้นเมื่อหินชั้นได้รับความร้อนและแรงกดอัดสูงจะเกิดการแปรสภาพกลายเป็นหินแปรและหินแปรเมื่อได้รับความร้อนสูงมากจนหลอมละลาย ก็จะกลายสภาพเป็นหินหนืด ซึ่งเมื่อเย็นตัวลงก็จะตกผลึกเป็นหินอัคนีอีกครั้งหนึ่งวนเวียนเช่นนี้เรื่อยไปเป็นวัฏจักรของหิน กระบวนการเหล่านี้อาจข้ามขั้นตอนดังกล่าวได้ เช่น จากหินอัคนีไปเป็นหินแปร หรือจากหินแปรไปเป็นหินชั้น


    ภาพแสดง วัฏจักรของหิน




    กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์

    95  หมู่ 9  ต.แม่ลาน้อย  อ.แม่ลาน้อย  จ.แม่ฮ่องสอน  รหัสไปรษณีย์ 58120  โทร 053-689-2423

    Copyright © 2011-2012, Aerobics Gym. All Rights Reserved.

    Free Web Hosting